วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ลักษณะภูมิประเทศ


  • ลักษณะภูมิประเทศของกัมพูชา: มีลักษณะคล้ายชามหรืออ่าง ซึ่งตอนกลางเป็นแอ่งและที่ราบลุ่ม โดยมีช่องระบายน้ำทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีเทือกเขาล้อมรอบที่ราบลุ่มตอนกลาง จึงทำให้อาณาจักรตอนกลางของประเทศ มีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศ และเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรประมาณร้อยละ 90 ของพลเมืองกัมพูชา และประเทศกัมพูชามีแม่นำ้สายสำคัญ มีชื่อว่า "แม่นำ้โขง"
     
  • ลักษณะภูมิอากาศ: ภูมิอากาศของกัมพูชาอยู่ภายใต้อิทธิพลลมมรสุมประจำปี มีลักษณะร้อนชื้นและมีฤดูฝนยาวนาน มีอุณหภูมิเฉลี่ย 20-36 องศาเซลเซียส


ลักษณะประชากร

 
  • จำนวนประชากร
        ปัจจุบัน ประเทศกัมพูชามีประชากร 14.4 ล้านคน มีคนหลายเชื้อชาติ  แยกออกได้เป็น   
เชื้อชาติกัมพูชา  ร้อยละ 96   มุสลิม ร้อยละ 2.2    เวียดนาม ร้อยละ 0.49   จีน ร้อยละ 0.2 
ที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยหรือชาวเขา รวม 17 เผ่า
  • ศาสนา   
        มีผู้นับถือศาสนาพุทธเถรวาท ร้อยละ 95 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 3
 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 1.7 นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ร้อยละ 0.3 
  • อาชีพหลักของประชากร
      อาชีพหลักของชาวกัมพูชา คือ
-ภาคเกษตรกรรม 
-ภาคบริการประมาณร้อยละ
- ภาคอุตสาหกรรมโรงงานประมาณร้อยละ 8 
-ภาคการก่อสร้างประมาณร้อยละ 5
  **ชาวกัมพูชาประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก**

ข้อมูลเศรษฐกิจ

  • สถานภาพทั่วไปทางด้านเศรษฐกิจ
กัมพูชาเป็นเมืองเกษตรกรรม ประชากรราวร้อยละ 85 ประกอบอาชีพเกษตรกรและอาศัยอยู่ในชนบท อาชีพหลักของชาวกัมพูชาคือเกษตรกรประมาณร้อยละ 70 อยู่ในภาคบริการร้อยละ 17 เป็นลูกจ้างโรงงานร้อยละ 8 และแรงงานก่อสร้างร้อยละ 5 ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้ไม่สูงนัก ปัจจุบันกัมพูชามีนโยบายพัฒนาระบบเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้เข้าประเทศโดยมุ่งเน้นด้านเกษตรกรรม การท่องเที่ยว และการส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนภายในประเทศ
  • รายได้ประชากรต่อหัว
ประมาณ 2,776 ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • สินค้าเกษตร
เกษตรกรรม อยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง รอบทะเลสาบเขมร พืชที่สำคัญคือ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย
  • ป่าไม้
การทำป่าไม้ บริเวณเขตภูเขาทางภาคเหนือ โดยล่องมาตามแม่น้ำโขง
  • อุตสาหกรรมหลักในประเทศ
อุตสาหกรรมหลักของกัมพูชา จะเป็นลักษณะอุตสาหกรรมขนาดย่อม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าว โรงเลื่อย รองเท้า
  • สินค้านำเข้า ส่งออกอะไรเป็นหลัก

-สินค้าส่งออก
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยางพารา ข้าว ไม้แปรรูป เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ปลา

-สินค้านำเข้า
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสิ่งทอ น้ำมันเชื้อเพลิง วัสดุก่อสร้าง รถยนต์และจักรยานยนต์ อาหารและเครื่องดื่ม
  • ทรัพยากรที่สำคัญ
กัมพูชามีทรัพยากรธรรมาชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีสินแร่ชนิดต่างๆ อยู่ทั่วไป เช่น ทอง ทองแดง แร่เหล็ก แมงกานิส ถ่านหิน วุลแฟรม ฟอสฟอรัส พลอย เงิน ดีบุก ตะกั่ว สังกะสี หินอ่อน
  • เมืองสำคัญด้านเศรษฐกิจ
-พนมเปญ
-สีหนุวิลล์
-กำปงจาม


ข้อมูลการเมืองการปกครอง

  • ระบอบการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
  • กษัตริย์องค์ปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
  •  นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน
  • เขตการปกครอง
 มีการกระจายอำนาจแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 จังหวัด และ 4 เทศบาล


ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม

           ประชาชนมีความเชื่อตาม ชาวเขมรโบราณที่มีความเชื่อในอำนาจเร้นลับที่มีอยู่กับธรรมชาติ เมื่อชาวบ้านมีปฏิสัมพันธ์กับชาวต่างถิ่นก็อาจได้รับอิทธิพล จากความเชื่ออื่นๆ เพิ่มขึ้น โดยไม่จำ เป็นต้องละทิ้งความเชื่อดั้งเดิม ซึ่งในเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ต่างกัน ชาวกัมพูชาได้รับเอาความเชื่อ ทางศาสนาและลัทธิต่างแดนมากมายที่สำคัญ คือ ศาสนาพุทธ ศาสนา อิสลาม ลัทธิขงจื้อ และลัทธิเต๋า
     

  • ประเพณีปฏิบัติต่างๆ 

           ประเพณีปฏิบัติต่างๆ ของประชาชนชาวกัมพูชาสอดคล้องใกล้เคียงกับไทยเป็นอย่างมาก
โดยผู้สูงอายุจะเข้าวัดฟังธรรมเมื่อมีงานบุญตามประเพณี ประชาชนหนุ่มสาว และเด็กจะร่วมแรงช่วยเหลือจัดการงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ จะมีงาน บุญประเพณีที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาตามจันทรคติเช่นเดียวกับไทย เป็นวันหยุดราชการ ได้แก่ วันมาฆบูชา วันปีใหม่เขมร ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ วันวิสาบูชา วันสาร์ทเขมร  เป็นต้น
          หากจะกล่าวโดยภาพรวมแล้ว ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และ ประเพณีของกัมพูชาและไทยจะใกล้เคียงกันในทุกเรื่อง รวมทั้งภาษา ถ้อยคำ พยัญชนะ สระ ตัวอักษร คำศัพท์ต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาได้ถูกหยิบ ยืมแลกเปลี่ยนใช้สืบเนื่องกันมา

โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค


  • การคมนาคมทางบก
จุดผ่านแดนถาวรทางบกมี 3 จุดสำคัญ
1. ด่านบาเว็ท
2.ด่านปอยเปต
3.ด่านจำเยียม
  • การคมนาคมโดยทางถนน
เส้นทางสำคัญ
1.เส้นทางหมายเลข 1 กรุงพนมเปญ–บาเว็ท (ชายแดนเวียดนาม) 
2.เส้นทางหมายเลข 4 กรุงพนมเปญ จังหวัดพระสีหนุ (กัมปงโสม) 
3. เส้นทางหมายเลข 5 กรุงพนมเปญ–ปอยเปต
4. เส้นทางหมายเลข 6 เสียมราฐ–ศรีโสภณ
  • การคมนาคมโดยทางรถไฟ

เส้นทางรถไฟที่สำคัญ 2 สาย
1. กรุงพนมเปญ-ศรีโสภณ
2.กรุงพนมเปญ-กำ ปงโสม
  • การคมนาคมทางอากาศ

1.สนามบินนานาชาติพนมเปญหรือสนามบินโปเชนตง
2.สนามบินนานาชาติเสียมราฐ
  • การคมนาคมทางนำ

ท่าเรือนานาชาติที่สำคัญ 3 แห่ง
1.ท่าเรือนานาชาติสีหนุวิลล์
2.ท่าเรือนานาชาติพนมเปญ
3.ท่าเรือออกญามอง
  • ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน


มีระบบไฟฟ้าและประปาที่ได้มาตรฐานในการใช้อุปโภคทั่วไปและการใช้ในอุตสาหกรรม


ระบบสาธารณสุข

  • ระบบสาธารณสุข
ปี พ.ศ. 2536
รัฐบาลกัมพูชาก็ได้จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุข (MOH) 
มีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมประชากร 100,000 ถึง 200,000คน

1. หน่วยปฎิบัติการประจำตำบล (Operational District – OD)
เป็นสถานการแพทย์ของกัมพูชาให้บริการ 77 จังหวัด

2. โรงพยาบาลชุมชน (Referral Hospital) 
ทำหน้าที่ให้บริการ 74 จังหวัด ดูแลคนประมาณ 100,000-200,000 คน

3. ศูนย์อนามัย (Health Center) 
ทำหน้าที่ดูแลคน 8,000-12,000 คน มี 957 แห่ง

4. สถานีอนามัย (Health Post)
มีจำนวน 95 แห่งทั่วประเทศ